เกี่ยวกับบ้านตะวันใหม่

ประวัติความเป็นมา
หลังจากที่มูลนิธิป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ก่อตั้งขึ้น เมื่อปีพ.ศ.2524 ต่อมาอีกประมาณ 10 ปีกว่าประธานมูลนิธิฯ พลตำรวจเอก เภา สารสิน จึงมีแนวคิดที่จะขยายภารกิจหน้าที่ของมูลนิธิฯ ให้กว้างขวางออกไปนอกเหนือจากการมอบเงินเพื่อช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่และ ครอบครัวที่ประสบอันตรายจากการดำเนินงานการปราบปรามยาเสพติด และการให้งบประมาณสนับสนุนแก่หน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อจัดกิจกรรมป้องกันยาเสพติดซึ่งเป็นภารกิจหลักในขณะนั้น โดยได้ดำเนินการจัดตั้งบ้านตะวันใหม่ขึ้นที่ ตำบลคลองสวนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยได้รับความอนุเคราะห์ที่ดินจาก คุณปิ่นทอง ศาลยาชีวิน จำนวน 88 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ฟื้นฟูและการพัฒนาสมรรถภาพเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาการ ติดยาเสพติดซึ่งได้รับการบำบัดรักษาเบื้องต้นแล้ว และได้ดำเนินการตั้งแต่ เมื่อปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ในระยะแรกบ้านตะวันใหม่ มุ่งเน้น การดำเนินการแก้ไขไปที่กลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาการติดยาเสพติด โดยใช้แนวคิดชุมชนบำบัด ( Community Therapy ) เพื่อฟื้นฟูและ พัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ ให้กลับตัวกลับใจมาเป็นคนดีของสังคมเป็นทรัพยากรที่มี คุณภาพของประเทศชาติต่อไป แต่ต่อมา มูลนิธิฯ พิจารณาเห็นว่าการที่บ้านตะวันใหม่เปิดให้บริการฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถภาพ โดยเน้นไปที่กลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาติดยาเสพติดเพียงกลุ่มเดียวไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็น การแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น มูลนิธิฯจึงได้ปรับนโยบายเพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินการใหม่โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาไปที่การดำเนินการป้องกันปัญหาในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ ยาเสพติด ซึ่งมูลนิธิฯคิดว่าน่าจะทำให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบัน มูลนิธิฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด โดยบ้านตะวันใหม่ได้นำเอาแนวคิดทักษะ ชีวิต ( Life Skills )มาใช้ในการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ ให้มีร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาที่ สมบูรณ์ สามารถเป็นภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับตัวเองได้ และในขณะเดียวกันก็ให้เด็กและเยาวชนเข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานและในระดับสูงขึ้นตามศักยภาพของเด็กและเยาวชนแต่ละบุคคล รวมทั้งส่งเสริมให้มีการฝึกอาชีพตามความถนัดของแต่ละบุคคล ด้วยมีคุณภาพที่ดี และเจริญเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติ ต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเข้าไปใช้ยาเสพติดค่อนข้างสูง อายุ 7-18 ปี อันได้แก่ เด็กและเยาวชนที่พ่อแม่ติดยาเสพติด เด็กและเยาวชนที่พ่อแม่ได้รับโทษในเรือนจำ เด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้งจากครอบครัวเด็กและเยาวชนที่ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ และเด็กกำพร้าที่ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู เป็นต้นปรัชญาและแนวคิด
บ้านตะวันใหม่ ได้นำปรัชญาทางด้านสังคมสงเคราะห์มาประยุกต์ใช้ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยฝึกให้มีการทำงานร่วมกันมากกว่าการทำให้ มีเจ้าหน้าที่เปรียบเสมือนพ่อแม่เป็นผู้อบรมสั่งสอนและให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อฝึกให้เด็กและเยาวชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และได้นำเอาแนวคิดทักษะชีวิต ( Life Skills ) มาใช้ในการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในการป้องกันยาเสพติด พร้อมทั้งให้การศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับที่สูงขึ้น ตามความสามารถและศักยภาพของเด็กและเยาวชนแต่ละบุคคลเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างสุจริตมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง และมีรายได้พอเลี้ยงตัวเองหลังจากออกจากบ้านตะวันใหม่ไปใช้ชีวิตอยู่ในสังคมพันธกิจ
- ให้การอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด ที่บ้านตะวันใหม่ได้สรรหาและคัดกรองตามเกณฑ์ที่กำหนดจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ - ประสานงานกับองค์กรทุกภาคส่วนของสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมทรัพยากรมาใช้ในการดำเนินงาน ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดวิสัยทัศน์
บ้านตะวันใหม่มีวิสัยทัศน์ในการเสริมสร้างและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยมุ่งเน้นการประสานงานจากองค์กรทุกภาคส่วนในสังคมให้เข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อให้เจริญเติบโต มีการศึกษา มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นคนดีของสังคม โดยมีภูมิคุ้มกันไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ตามปฏิญาณบ้านตตะวันใหม่ที่ว่า “บ้านตะวันใหม่ ให้ชีวิตใหม่ เพื่อเด็กไทยปลอดภัยจากยาเสพติด”การสรรหา คัดกรอง และการเตรียมความพร้อม
การสรรหาคัดกรองและการเตรียมความพร้อมเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาคัดเลือกเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตในบ้านตะวันใหม่ ตามนโยบายและวัตถุประสงค์ที่มูลนิธิ พล.ต.อ. เภา สารสิน กำหนดไว้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่บ้านตะวันใหม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในรายเอียดของ คุณสมบัติ เกณฑ์การพิจารณา วิธีการสรรหา คัดกรอง และการเตรียมความพร้อมที่บ้านตะวันใหม่ได้กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้คุณสมบัติเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง
- มีอายุระหว่าง 7-18 ปี ชายและหญิง
- ไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพ
- ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง
- เป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา
- เป็นลูกกำพร้าหรือครอบครัวไม่สามารถให้การอุปการะเลี้ยงดูได้
- เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมซึ่งมีแนวโน้มจะไปใช้ยาเสพติด เช่น สูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
- เกณฑ์การพิจารณา
- มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
- มีความสมัครใจที่เข้ารับการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตในบ้านตะวันใหม่
- พ่อแม่หรือผู้ปกครองยินยอม
- การกระจายตัวของภูมลำเนาเด็กเยาวชน
- อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีการค้าและแพร่ระบาดยาเสพติด
- มีบุคคลในครอบครัวใช้หรือติดยาเสพติด
การสรรหาและคัดกรอง
การสรรหาและคัดกรอง หมายถึง วิธีการคัดเลือกให้ได้มาซึ่งเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่มีคุณสมบัติและเป้าหมายตรงตามนโยบายและข้อกำหนดของบ้านตะวันใหม่เพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิต
การเตรียมความพร้อม
การเตรียมความพร้อมเป็นขั้นตอนแรก
ที่เจ้าหน้าที่บ้านตะวันใหม่จะต้องดำเนินการให้กับเด็กและเยาวชนที่ผ่านการคัดกรองมาแล้วโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบและการปฏิบัติตนที่ทุกคน จะต้องปฏิบัติเหมือนๆกันในฐานะสมาชิกบ้านตะวันใหม่และเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ปรับตัวในเรื่องสภาพความเป็นอยู่ และสังคมกับเพื่อนสมาชิกและเลี้ยงโดยไม่ตกอยู่ในสภาวะอึดอัดหรือขัดข้องใจ จนเป็นสาเหตุทำให้เด็กและเยาวชนหนีออกจากบ้านตะวันใหม่ เนื่องจากยอมรับสภาพต่างๆ ภายในบ้านตะวันใหม่ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านหรือสังคมใหม่ไม่ได้